ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (Carbon Monoxide)
เป็นก๊าซที่ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่มีรส สูตรทางเคมีคือ CO ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (Carbon Monoxide) พบได้หลายแห่ง ไม่ว่าเกิดจากการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ของเชื้อเพลิงที่มีคาร์บอนเป็นส่วนประกอบ หรือเกิดจากการเผาไหม้ในโรงงานอุตสาหกรรม ในบรรยากาศที่เราหายใจอยู่นั้นอาจมี ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (Carbon Monoxide) อยู่บ้าง แต่มากบ้างน้อยบ้างแตกต่างกันออกไป อย่างเช่น บริเวณบรรยากาศปกติอาจจะมีประมาณ 0.1 ppm(parts per million) จนกระทั้งถึง 5 ppm หรือแม้กระทั่งอาจจะถึง 15 ppm ในกรณีที่เราอยู่ใกล้สิ่งที่มีการเผาไหม้ เช่น เรากำลังทำการหุงต้มอาหารในบ้าน แต่ถ้าเราอยู่ในการจราจรหนาแน่นอย่างเช่นเมืองหลวงที่มีรถติดอย่างเช่น กรุงเทพ หรือเชียงใหม่ อาจจะพบ คาร์บอนมอนอกไซด์ (Carbon Monoxide) ถึง 100 ถึง 200 ppm หรือถ้ามาจากปล่องไฟที่มีการเผาไหม้อาจมากถึง 5,000 ppm จนกระทั่งถึง 7,000 ppm เพราะฉะนั้นเราควรจะพยายามหลีกเลี่ยงแหล่งที่จะทำให้เราได้รับก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (Carbon Monoxide) ในปริมาณมากเกินไป
ผลของก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (Carbon Monoxide) ที่มีผลกระทบกับสุขภาพ
เมื่อเรารับก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (Carbon Monoxide) เข้าไปในร่างกายมากเกินไปจะทำให้เม็ดเลือดแดงไม่สามารถรวมตัวกับเฮโมโกลบิน และเปลี่ยนเป็นอ๊อกซีเฮโมโกลบิน(Oxyhaemoglobin) ได้ในสภาวะปกติ ดังนั้นร่างกายก็อาจจะเกิดอาการอ่อนเพลีย วิงเวียนศีรษะ เพราะว่าสมองได้รับออกซิเจน(Oxygen) เข้าไปน้อยกว่าสภาวะปกติ และในสภาวะพื้นที่อับอากาศ(Confine space) คือ การที่ไม่มีการถ่ายเทของอากาศที่ดี ไม่มีการไหลของอากาศที่ดี อากาศไม่ไหลเวียน และยังมี ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (Carbon Monoxide) เป็นจำนวนมาก อาจทำให้เราเสียชีวิตได้ในระยะเวลาอันสั้น เราลองมาดูผลกระทบของก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (Carbon Monoxide) ในระดับค่าก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (Carbon Monoxide) ในระดับที่แตกต่างกัน
• ที่ระดับ 50 ppm จนกระทั้งถึง 200 ppm จะทำให้มีอาการปวดศีรษะเล็กน้อยและอ่อนเพลีย
• ที่ระดับ 200 ppm จะกระทั้งถึง 400 ppm จะเริ่มมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน วิงเวียนศีรษะอย่างรุนแรง และอาจ ถึงขั้นเป็นลม
• ที่ระดับประมาณ 1,200 ppm จะเริ่มเกิดอาการหัวใจเต้นเร็วขึ้นผิดปกติ และเริ่มเต้นผิดจังหวะ
• ที่ระดับประมาณ 2,000 ppm อาจถึงขั้นหมดสติ และอาจถึงเสียชีวิต
• ที่ระดับประมาณ 5,000 ppm อาจทำให้เสียชีวิตภายในไม่กี่นาที แต่อาจจะรอดชีวิตถ้ารีบนำผู้ป่วยออกจาก บริเวณอับอากาศมาสู่บริเวณที่มีอากาศบริสุทธิ์ หรือมีออกซิเจน Oxygen เพียงพอ
สินค้าที่เกี่ยวข้องกับบทความ
http://www.orangeth.com/Gasdetectors
ชอบบทความนี้กด Like ด้านบนเพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงานด้วยนะคะ